
ภาพยนตร์ คืออะไร?
ภาพยนตร์ คืออะไร? กับบทความวิเคราะห์จาก LUNGYOONNS

ภาพยนตร์คือภาพเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหวเกิดจากการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision) โดยธรรมชาติเมื่อเรามองภาพนิ่งที่ซ้อนกันเยอะ ๆ จะทำให้มองเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว จึงเป็นที่มาของภาพยนตร์
ผู้ที่สร้างภาพเคลื่อนไหวจากภาพนิ่งได้เป็นครั้งแรกของโลกนั่นคือ Eadweard Muybridge
wikipedia

ส่วนผู้ที่กำเนิดภาพยนตร์คือ สองพี่น้อง Lumiere Brother ในวันที่ 28 ธันวาคม 1895
wikipedia

ภาพยนตร์อธิบายแนวคิด Mimesis – Immitation หรือการเลียนแบบ โดยคนเราถูกปลูกฝังว่าความสวย คือความเหมือน จึงเกิดการเลียนแบบสิ่งใกล้ตัวแล้วนำมาถ่ายทอดลงบนภาพยนตร์
ภาพยนตร์ในความเข้าใจของผู้เขียนคือ ภาพเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้นมาจากภาพนิ่ง เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆจากผู้ผลิตภาพยนตร์ โดยมีภาพยนตร์เป็นสื่อกลางข้อความส่งไปถึงผู้ชม ภาพยนตร์ก็เปรียบเหมือนศิลปะแขนงหนึ่ง ซึ่งศิลปะมีหน้าที่กระตุ้น ให้คนคิดถึงสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น แต่ละยุคแต่ละสมัยก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ แนวคิดแตกต่างกันออกไป เช่น แนวคิดแบบ Expressionism อย่างในภาพยนตร์เรื่อง The Cabinet of Dr.Caligari มีการแสดงความรู้สึกภายในใจ

โดยพวก Expressionism ส่วนมากจะอยู่ในประเทศเยอรมัน จึงเรียกว่า German Expressionism โดยภาพยนตร์เรื่องนี้มีลักษณะภาพเป็นภาพขาวดำ ตัวละครมีการแสดงความรู้สึกแปลกแยก มีความกดดัน

ต่างจากแนวคิดแบบ Pop Art หรือเรียกในภาษาไทยว่า ศิลปะประชานิยม ที่แนวคิดนี้เกิดขึ้นในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้คนเริ่มรวยขึ้น จึงเกิดศิลปะแบบ Pop Art ขึ้นมาล้อเลียน ถากถางสังคมบริโภคนิยม เช่น ภาพยนตร์สั้นเรื่อง The Big Shave เนื้อเรื่องไม่มีอะไรมาก มีแค่ชายคนหนึ่งในห้องน้ำ กำลังยืนโกนหนวด เขาโกนแล้วโกนอีกจนเลือดไหล เป็นการบ่งบอกถึงสิ่งที่ผู้คนกระทำซ้ำ ๆ ในสังคม
ภาพยนตร์นั้นไม่ได้อยู่ในปัจจัย 4 อันว่าด้วย ยารักษาโรค,ที่อยู่อาศัย,อาหาร,เครื่องนุ่งห่ม แต่ภาพยนตร์เป็นปัจจัยที่สำคัญในการสะท้อนสภาพทางสังคม หรือสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้น มันเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นสิ่งต่าง ๆกว้างและชัดเจนขึ้น เช่น ภาพยนตร์สารคดีปลุกจิตสำนึกความสามัคคี สร้างขึ้นเพื่อเตือนผู้คนที่อาจจะหลงลืมว่าสิ่งที่กระทำอยู่นั้น เป็นสิ่งที่ถูกจริงหรือไม่
ภาพยนตร์บางชนิดก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดแง่ลบ เป็นสิ่งยั่วยุให้ผู้คนกระทำสิ่งเลวร้าย เช่น ภาพยนตร์ไทยที่มีเนื้อหาแต่เรื่องเพศ การตบตีแย่งผู้ชาย การปลูกฝังค่านิยมผิดๆที่ว่า คนผิวขาว คือคนที่ดูดี คนผิวดำ หรือมีผิวเข้ม คือคนชนชั้นล่าง ต้องหุ่นดีถึงจะเรียกว่าดูดี หากมีหุ่นที่ไม่ได้ตรงตามมาตรฐานทางสังคม จะถูกจัดรวมเข้าไปอยู่ในอีกชนชั้นหนึ่ง หรือเรียกอีกอย่างว่า Body Shaming ทั้งที่จริงๆแล้ว ร่างกายทุกรูปแบบ มีความสวยงามของตัวมันเอง
โดยสิ่งเหล่านี้เมื่อผู้ชมได้ดู รับข้อความเหล่านี้เข้าไป และขาดการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ จะเริ่มซึมซับข้อมูลเหล่านี้เข้าไปในความคิด และจะกลายเป็นคนที่มองคนอื่นแต่ภายนอก และเริ่มหันมาทำตามสิ่งที่สื่อเหล่านี้ได้สั่งให้เราทำ จึงไม่แปลกที่ว่าทำไมครีมบำรุงผิวขาวจึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า คลินิคศัลยกรรมก็ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด คนบางคนไม่มีเงินพอจะทำแบบปลอดภัยเนื่องจากราคาสูง ก็แอบไปทำคลินิกเถื่อน ทาครีมปลอม ทำให้เกิดความผิดพลาดต่อร่างกายและชีวิต สิ่งเหล่านี้มีเหตุมาจากภาพยนตร์ทั้งสิ้น
หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ ภาพยนตร์เรื่อง Guinea Pig : Flower of Flesh and Blood หรือชื่อไทยว่าดอกไม้สีเลือด เป็นภาพยนตร์สัญชาติญี่ปุ่นแนว snuff film เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทรมานหญิงสาว ซึ่งเป็นสิ่งยั่วยุจูงใจทำให้มีการฆาตกรรมเลียนแบบในภาพยนตร์เกิดขึ้น

ถึงแม้ภาพยนตร์จะเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลในการผลักดันผู้คนให้ไปในทางที่ดีหรือไม่ก็ตาม ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่ที่วิจารณญาณของผู้ชมแต่ละคน เพราะภาพยนตร์ทุกเรื่องนั้นสร้างขึ้นโดยความตั้งใจของผู้สร้างที่ต้องการสะท้อนแนวคิดต่างๆลงบนแผ่นฟิล์ม ในความคิดส่วนตัว ภาพยนตร์คือสิ่งสวยงามที่มีความหมายมากกว่านั่งชมแล้วจบไป เราควรนำมาคิดต่อยอด นำมาเป็นประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต
อ่านบทความที่น่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่
กดติดตามเราได้ ที่นี่

